วันจันทร์ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

การเทียบศักราชในประวัติศาสตร์



          เมื่อมนุษย์มีการดำเนินชีวิตและทำกิจกรรมต่อเนื่องที่ใช้ระยะเวลายาวนาน ดังนั้น มนุษย์
จึงต้องกำหนดช่วงเวลาซึ่งเป็นที่ยอมรับและสามารถใช้ร่วมกันได้ในสังคมหนึ่งๆ เพื่อให้เกิดความ
เข้าใจในเหตุการณ์ตรงกัน มนุษย์จึงได้กำหนดศักราชขึ้นเพื่อใช้นับเวลาทุกๆ 1 ปี โดยเกณฑ์การ
กำหนดศักราชนี้จะแตกต่างกันไปตามแนวคิดและความเชื่อในแต่ละสังคม เช่น บางสังคมใช้
เหตุการณ์สำคัญที่เกี่ยวข้องกับกษัตริย์ การสร้างเมืองหรืออาณาจักร บางสังคมใช้เหตุการณ์
สำคัญทางศาสนา เป็นต้น ศักราชที่ใช้ในการศึกษาประวัติศาสตร์ที่สำคัญ ได้แก่
  • คริสต์ศักราช (ค.ศ.)
                    คริสต์ศักราชเป็นศักราชสากลที่ใช้อยู่ทั่วโลกในปัจจุบันนี้ คริสต์ศักราชที่ 1 เริ่มต้นเมื่อ
          วันที่ 1 มกราคม ปี 754 แห่งศักราชโรมัน การเริ่มต้นคำนวณคริสต์ศักราชเริ่มขึ้นเมื่อ ค.ศ. 525
          เมื่อสมเด็จพระสันตะปาปา นักบุญจอนห์ที่ 1 (St. Paul I) ทรงมอบหมายให้นักบวชชื่อ
          ไดโอนีซุส เอ็กซิกุอุส (Dionysius Exiguus) คำนวณวันอีสเตอร์สำหรับใช้ระหว่าง ค.ศ. 527-626
          ผลการคำนวณพบว่าพระเยซูคริสต์ประสูติเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม ปี 753 แห่งศักราชโรมัน แต่
          เนื่องจากตามธรรมเนียมถือเอาวันที่ 1 มกราคม เป็นวันเริ่มต้นปีใหม่ ดังนั้นจึงเห็นว่าวันที่ 1
          มกราคม ปี 754 แห่งศักราชโรมัน เป็นจุดเริ่มต้นของปีแรกสำหรับยุคใหม่ของมนุษยชาติ เรียกว่า
          “ปีแห่งพระเป็นเจ้า” (ANNO DOMINI ซึ่งย่อว่า A.D.) ทำให้ในเวลาต่อมามีการเรียกช่วงเวลา
          ก่อนการประสูติของพระเยซูคริสต์ว่า ก่อนคริสต์ศักราช (Before Christ ซึ่งย่อว่า B.C.) ดังนั้น
          ตามการคำนวณของไดโอนีซุส เอ็กซิกุอุส ปี 754 แห่งศักราชโรมัน จึงถือว่าเป็น ค.ศ. 1 (A.D. 1)
          และปี 753 แห่งศักราชโรมัน จึงเป็น 1 ปีก่อนคริสต์ศักราช (1 B.C.)
          อย่างไรก็ตาม เมื่อเริ่มมีการใช้คริสต์ศักราชนั้น ศักราชดังกล่าวยังไม่เป็นที่นิยมแพร่หลาย
          เท่าที่ควร มีหลักฐานว่าคริสต์ศักราชน่าจะปรากฏใช้เป็นศักราชหลักในยุโรปตะวันตก เมื่อนักบวช
          ชาวอังกฤษซึ่งเป็นที่รู้จักในนามว่า บีด ผู้น่านับถือ (Venerable Bede) ใช้คริสต์ศักราชในการ
          อ้างอิงเหตุการณ์ต่างๆ ในหนังสือ “ประวัติศาสตร์ศาสนาของชาวอังกฤษ” ของเขาซึ่งเขียนแล้ว
          เสร็จเมื่อ ค.ศ. 731 ขณะที่สำนักวาติกันใช้คริสต์ศักราชในเอกสารอย่างเป็นทางการในสมัย
          สมเด็จพระสันตะปาปา จอห์นที่ 13 (St. Paul XIII)

  • ฮิจเราะห์ศักราชเป็นศักราชของศาสนาอิสลาม โดยใช้ปีที่ท่านนบีมุฮัมมัด ศาสดาของศาสนาอิสลามกระทำฮิจเราะห์ (Hijarah แปลว่า การอพยพโยกย้าย) คือ อพยพออกจากเมืองเมกกะไปยังเมืองเมดินา เป็น ฮ.ศ. 1 ซึ่งตรงกับวันที่ 16 กรกฎาคม ค.ศ. 622 หรือ พ.ศ. 1165 แต่การเทียบฮิจเราะห์ศักราชเป็นพุทธศักราชไม่สามารถใช้จำนวนคงที่เทียบได้ เนื่องจากฮิจเราะห์ศักราชยึดถือวัน เดือน ปี ทางจันทรคติอย่างเคร่งครัด จึงเดินตามปีสุริยคติไม่ทัน ทำให้คลาดเคลื่อนไม่ตรงกัน โดยทุกๆ 32 ปีครึ่งจะเพิ่มขึ้นจากปีสุริยคติไป 1 ปีตลอด การเทียบฮิจเราะห์ศักราชกับพุทธศักราชในปัจจุบัน ให้บวกฮิจเราะห์ศักราชด้วย 1122

  • พุทธศักราช (พ.ศ.) พ.ศ. ใช้กันแพร่หลายในประเทศที่ประชาชนนับถือพระพุทธศาสนา เช่น ไทย ลาว พม่าและกัมพูชา โดยไทยเริ่มใช้ พ.ศ. มาตั้งแต่สมัยอยุธยาในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชและใช้อย่างเป็นทางการในสมัยรัชกาลที่ 6 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน
  • มหาศักราช (ม.ศ.) ม.ศ. เป็นศักราชที่เริ่มใช้ในอินเดียโดยพระเจ้ากนิษกะแห่งราชวงศ์กุษาณะทรงตั้งขึ้น และต่อมาได้แพร่หลายไปยังดินแดนที่ได้รับอารยธรรมอินเดียมหาศักราชพบมากในจารึกสมัยสุโขทัยและจารึกในดินแดนไทยรุ่นแรกๆ  การเทียบมหาศักราชเป็น พ.ศ. ให้บวกด้วย 621
  • จุลศักราช (จ.ศ.) จ.ศ. เป็นศักราชของพม่าสมัยพุกามก่อนแพร่เข้ามาในดินแดนประเทศไทยา นิยมใช้ในหลักฐานทางประวัติศาสตร์ไทยสมัยต่าง ๆ ทั้งสมัยสุโขทัย อยุธยา รัตนโกสินทร์ตอนต้น และล้านนา
การเทียบจุลศักราชเป็น พ.ศ. ให้บวกด้วย 1181
- รัตนโกสินทร์ (ร.ศ.) ร.ศ. เป็นศักราชที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำริขั้นใช้ในกลางรัชสมัยของพระองค์ โดยเริ่มนับ ร.ศ. 1 ในปีที่สถาปนากรุงรัตนโกสินทร์เป็นราชธานี คือ พ.ศ. 2325
การเทียบรัตนโกสินทร์ศกเป็น พ.ศ. ให้บวกด้วย 2324
นอกจากการนับศักราชที่กล่าวมา ในบางกรณีบางเหตุการณ์ที่เราไม่ต้องนับเวลาอย่างละเอียดโดยการระบุศักราช ก็อาจนับเวลาอย่างกว้าง ๆ ได้อีก เช่น สหัสวรรษ หมายถึง เวลาในรอบ 1,000 ปีศตวรรษ หมายถึง เวลาในรอบ 100 ปี ทศวรรษ หมายถึง เวลาในรอบ 10 ปี เป็นต้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น