วันจันทร์ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

รายชื่อผู้จัดทำ

จัดทำโดย

1.นายถาวร  พวงใจศรี  เลขที่ 11
2.นายประพัฒน์  รุ่งจรุงลาภกุล  เลขที่ 14
3.นายพีรศิลป์  ศรีจันทร์  เลขที่ 15


ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  6/4
โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย เชียงราย

การแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ไทย


        การแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ไทยนิยมแบ่งหลายแบบ ที่ใช้กันในปัจจุบันมักเป็นการผสมระหว่างหลักเกณฑ์การแบ่งยุคสมัยของประวัติศาสตร์สากลกับหลักเกณฑ์การแบ่งยุคสมัยของประวัติศาสตร์ไทย โดยในประวัติศาสตร์ไทยมีการแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์คล้ายกับประวัติศาสตร์สากล คือ แบ่งออกเป็นสมัยก่อนประวัติศาสตร์และสมัยประวัติศาสตร์ และในแต่ละยุคสมัยได้ถูกแบ่งเป็นยุคสมัยย่อย ๆ ลงไปอีกเพื่อให้มีความชัดเจนมากขึ้น ดังนี้

สมัยก่อนประวัติศาสตร์
       สมัยก่อนประวัติศาสตร์เป็นสมัยที่ยังไม่ปรากฏหลักฐานลายลักษณ์อักษร การแบ่งยุคสมัยจึงนิยมแบ่งตามนักโบราณคดี ซึ่งกำหนดยุคสมัยจึงนิยมแบ่งตามนักโบราณคดี ซึ่งกำหนดยุคสมัยตามหลักฐานเครื่องมือเครื่องใช้ของมนุษย์ สมัยก่อนประวัติศาสตร์นิยมแบ่งช่วงเวลาออกเป็นยุคหินกับยุคโลหะ
     
ขวานหินยุคหินเก่า อายุประมาณ 700,000 ปีมาแล้ว
1) ยุคหิน แบ่งย่อยออกเป็นยุคต่าง ๆ ดังนี้


ยุคหินเก่า มีอายุประมาณ 700,000 ปีมาแล้ว ดังพบหลักฐานประเภทเครื่องมือหินกรวดกะเทาะหน้าเดียวเพื่อใช้สับ ตัด ขุด แหล่งที่พบ เช่น บ้านแม่ทะ จังหวัดลำปาง มนุษย์ยุคนี้เป็นพวกเร่ร่อน เก็บหาของป่า ล่าสัตว์ อยู่รวมกันเป็นกลุ่มเล็ก ๆ

ยุคหินกลาง มีอายุประมาณ 10,000 - 4,300 ปีมาแล้ว มนุษย์ยุคนี้ทำเครื่องมือเครื่องใช้ที่มีความประณีตขึ้น สามารถทำภาชนะดินเผาใช้ในชีวิตประจำวันโดยมีทั้งภาชนะแบบผิวเกลี้ยงและมีลวดลายที่เกิดจากการใช้เชือกทาบ แหล่งที่พบหลักฐานยุคหินกลาง เช่น ที่ถ้ำไทรโยคจังหวัดกาญจนบุรี

ยุคหินใหม่ มีอายุประมาณ 4,300 ปีมาแล้ว มนุษย์ยุคนี้รู้จักการตั้งถิ่นฐานทำเกษตรกรรม เลี้ยงสัตว์ ทำเครื่องมือหินขัดที่มีความคม มีผิวเรียบ ทำเครื่องปั้นดินเผาแบบสามขา เช่น ที่บ้านเชียง จังหวัดอุบลราชธานี บ้านเก่า จังหวัดกาญจนบุรี


สโตนเฮนจ์ กลุ่มแท่งหินขนาดใหญ่ บริเวณที่ราบซัลลิสเบอร์รี ทางตอนใต้ของประเทศอังกฤษ

2) ยุคโลหะ แบ่งออกได้ดังนี้


ยุคสำริด มีอายุประมาณ 3,500 ปีมาแล้ว ดังพบหลักฐานเครื่องมือสำริดที่เป็นอาวุธ เครื่องประดับ เครื่องมือเครื่องใช้ กลองสำริด เครื่องปั้นดินเผาลายเขียนสี เช่น ที่บ้านเชียง จังหวัดอุดรธานี


ยุคเหล็ก มีอายุประมาณ 2,500 ปีมาแล้ว ดังพบเครื่องมือเหล็กที่ทนทานและใช้ประโยชน์ได้มากกว่าเครื่องมือสำริด เช่น ที่บ้านดอนตาเพชร จังหวัดกาญจนบุรี สังคมยุคนี้มีความซับซ้อนมากขึ้น มีการติดต่อกับต่างถิ่น มีชนชั้น ดังจะเห็นได้จากการฝังศพ ที่บางศพมีข้าวของเครื่องใช้และเครื่องประดับมากมาย แสดงถึงการเป็นบุคคลสำคัญ

สมัยประวัติศาสตร์
        สมัยประวัติศาสตร์เป็นสมัยที่ปรากฏหลักฐานลายลักษณ์อักษร หลักฐานสมัยประวัติศาสตร์ที่เก่าแก่ที่สุดในดินแดนไทย คือ ศิลาจารึก ในหลายพื้นที่พบศิลาจารึกที่อยู่ในช่วงเวลาเดียวกัน เช่น ที่ศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์ ที่ซับจำปา จังหวัดลพบุรี ส่วนจารึกที่ปรากฏศักราชชัดเจนที่สุด คือ จารึกอักษรปัลลวะ เป็นภาษาสันสกฤตและเขมร พบที่ปราสาทเขาน้อย จังหวัดปราจีนบุรี ระบุมหาศักราช 559 หรือตรงกับ พ.ศ. 1180


สำหรับการแบ่งสมัยประวัติศาสตร์ในดินแดนไทยโดยละเอียดมีดังนี้

1) สมัยอาณาจักรรุ่นแรก ๆ นับช่วงเวลาก่อนการตั้งอาณาจักรสุโขทัย เช่น อาณาจักรทวารวดี (พุทธศตวรรษที่ 11-16) อาณาจักรละโว้ (พุทธศตวรรษที่ 12-18) หลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญ เช่น ศิลาจารึก เหรียญจารึก รัฐโบราณเหล่านี้มีการสร้างสรรค์อารยธรรมภายใน และมีการรับและแลกเปลี่ยนอารยธรรมจากภายนอก เช่น การรับพระพุทธศาสนา ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู การติดต่อค้าขายกับพ่อค้าต่างแดน เป็นต้น
2) สมัยสุโขทัย ตั้งแต่การสถาปนากรุงสุโขทัยเมื่อ พ.ศ. 1792 จนสุโขทัยถูกรวมเข้ากับกรุงศรีอยุธยาใน พ.ศ. 2006 สมัยสุโขทัยเป็นช่วงที่มีการสร้างสรรค์วัฒนธรรมไทยหลายประการ เช่น ตัวหนังสือ การนับถือพระพุทธศาสนา การสร้างสรรค์ศิลปะที่มีความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของตนเอง เช่น เจดีย์ทรงดอกบัวตูมหรือทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ พระพุทธรูปปางลีลา เป็นต้น
3) สมัยอยุธยา ตั้งแต่ พ.ศ. 1893 - 2310 สามารถแบ่งออกเป็นสมัยย่อยได้อีก โดยแบ่งตามสมัยของราชวงศ์และแบ่งตามลักษณะสำคัญของประวัติศาสตร์
  •  แบ่งตามราชวงศ์ที่ปกครอง ได้แก่ 
  1. ราชวงศ์อู่ทอง (พ.ศ. 1893-1913 และ พ.ศ. 1931-1952)
  2. ราชวงศ์สุพรรณภูมิ (พ.ศ. 1913-1931 และ พ.ศ. 1952-2112) 
  3. ราชวงศ์สุโขทัย (พ.ศ. 2112-2173) 
  4. ราชวงศ์ปราสาททอง (พ.ศ. 2173-2231) 
  5. ราชวงศ์บ้านพลูหลวง (พ.ศ. 2231-2310) 
  • แบ่งตามลักษณะสำคัญของประวัติศาสตร์ ได้แก่ 
  1. สมัยการวางรากฐานและการสร้างความมั่นคง เริ่มตั้งแต่การตั้งอาณาจักรเป็นสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (อู่ทอง) ใน พ.ศ. 1893 จนถึงสมัยสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 (เจ้าสามพระยา)      ในพ.ศ. 1991 เป็นช่วงที่อาณาจักรยังมีขนาดเล็ก ต่อมาได้ขยายอำนาจไปโจมตีอาณาจักรขอมทำให้ราชสำนักอยุธยาได้รับวัฒนธรรมขอมเข้ามา รวมทั้งการทำการค้ากับต่างชาติ เช่น จีน
  2. สมัยแห่งความมั่นคงทางการเมืองและเจริญรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจเริ่มตั้งแต่ พ.ศ. 1991 ในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถถึงสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชใน พ.ศ. 2231 เป็นช่วงที่ระบบการปกครองมีระเบียบแบบแผน มีความมั่นคง มีการติดต่อค้าขายกับต่างชาติอย่างกว้างขวาง
  3. สมัยเสื่อมอำนาจ ตั้งแต่ พ.ศ. 2231-2310 เป็นสมัยที่มีกบฏภายใน มีการแย่งชิงอำนาจกันเองหลายครั้ง ส่งผลให้ราชสำนักอ่อนแอและเสียกรุงใน พ.ศ. 2310
  4. สมัยธนบุรี ตั้งแต่ พ.ศ. 2310-2325 เป็นสมัยของการฟื้นฟูบ้านเมืองหลังเสียกรุงศรีอยุธยา มีการทำสงครามเกือบตลอดเวลา
  5. สมัยรัตนโกสินทร์ ตั้งแต่ พ.ศ. 2325-ปัจจุบัน มีการแบ่งเป็นสมัยย่อยโดยยึดตามการเปลี่ยนแปลงของบ้านเมืองและการปกครองร่วมกัน โดยแบ่งได้ดังนี้
                    สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ตั้งแต่ พ.ศ. 2325-2394 อยู่ในช่วงสมัยรัชกาลที่ 1 ถึง รัชกาลที่ 3
                    เป็นช่วงการฟื้นฟูอาณาจักรในทุกด้านต่อจากสมัยธนบุรี

                    สมัยรัตนโกสินทร์ยุคกลางปรับปรุงประเทศ ตั้งแต่ พ.ศ. 2394-2495 อยู่ในช่วงสมัย
                    รัชกาลที่ 4 ถึง รัชกาลที่ 7 เป็นช่วงที่มีการติดต่อกับต่างชาติ มีการปรับปรุงประเทศให้ทัน
                    สมัยตามแบบตะวันตกจนถึงการเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบ

การเทียบศักราชในประวัติศาสตร์



          เมื่อมนุษย์มีการดำเนินชีวิตและทำกิจกรรมต่อเนื่องที่ใช้ระยะเวลายาวนาน ดังนั้น มนุษย์
จึงต้องกำหนดช่วงเวลาซึ่งเป็นที่ยอมรับและสามารถใช้ร่วมกันได้ในสังคมหนึ่งๆ เพื่อให้เกิดความ
เข้าใจในเหตุการณ์ตรงกัน มนุษย์จึงได้กำหนดศักราชขึ้นเพื่อใช้นับเวลาทุกๆ 1 ปี โดยเกณฑ์การ
กำหนดศักราชนี้จะแตกต่างกันไปตามแนวคิดและความเชื่อในแต่ละสังคม เช่น บางสังคมใช้
เหตุการณ์สำคัญที่เกี่ยวข้องกับกษัตริย์ การสร้างเมืองหรืออาณาจักร บางสังคมใช้เหตุการณ์
สำคัญทางศาสนา เป็นต้น ศักราชที่ใช้ในการศึกษาประวัติศาสตร์ที่สำคัญ ได้แก่
  • คริสต์ศักราช (ค.ศ.)
                    คริสต์ศักราชเป็นศักราชสากลที่ใช้อยู่ทั่วโลกในปัจจุบันนี้ คริสต์ศักราชที่ 1 เริ่มต้นเมื่อ
          วันที่ 1 มกราคม ปี 754 แห่งศักราชโรมัน การเริ่มต้นคำนวณคริสต์ศักราชเริ่มขึ้นเมื่อ ค.ศ. 525
          เมื่อสมเด็จพระสันตะปาปา นักบุญจอนห์ที่ 1 (St. Paul I) ทรงมอบหมายให้นักบวชชื่อ
          ไดโอนีซุส เอ็กซิกุอุส (Dionysius Exiguus) คำนวณวันอีสเตอร์สำหรับใช้ระหว่าง ค.ศ. 527-626
          ผลการคำนวณพบว่าพระเยซูคริสต์ประสูติเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม ปี 753 แห่งศักราชโรมัน แต่
          เนื่องจากตามธรรมเนียมถือเอาวันที่ 1 มกราคม เป็นวันเริ่มต้นปีใหม่ ดังนั้นจึงเห็นว่าวันที่ 1
          มกราคม ปี 754 แห่งศักราชโรมัน เป็นจุดเริ่มต้นของปีแรกสำหรับยุคใหม่ของมนุษยชาติ เรียกว่า
          “ปีแห่งพระเป็นเจ้า” (ANNO DOMINI ซึ่งย่อว่า A.D.) ทำให้ในเวลาต่อมามีการเรียกช่วงเวลา
          ก่อนการประสูติของพระเยซูคริสต์ว่า ก่อนคริสต์ศักราช (Before Christ ซึ่งย่อว่า B.C.) ดังนั้น
          ตามการคำนวณของไดโอนีซุส เอ็กซิกุอุส ปี 754 แห่งศักราชโรมัน จึงถือว่าเป็น ค.ศ. 1 (A.D. 1)
          และปี 753 แห่งศักราชโรมัน จึงเป็น 1 ปีก่อนคริสต์ศักราช (1 B.C.)
          อย่างไรก็ตาม เมื่อเริ่มมีการใช้คริสต์ศักราชนั้น ศักราชดังกล่าวยังไม่เป็นที่นิยมแพร่หลาย
          เท่าที่ควร มีหลักฐานว่าคริสต์ศักราชน่าจะปรากฏใช้เป็นศักราชหลักในยุโรปตะวันตก เมื่อนักบวช
          ชาวอังกฤษซึ่งเป็นที่รู้จักในนามว่า บีด ผู้น่านับถือ (Venerable Bede) ใช้คริสต์ศักราชในการ
          อ้างอิงเหตุการณ์ต่างๆ ในหนังสือ “ประวัติศาสตร์ศาสนาของชาวอังกฤษ” ของเขาซึ่งเขียนแล้ว
          เสร็จเมื่อ ค.ศ. 731 ขณะที่สำนักวาติกันใช้คริสต์ศักราชในเอกสารอย่างเป็นทางการในสมัย
          สมเด็จพระสันตะปาปา จอห์นที่ 13 (St. Paul XIII)

  • ฮิจเราะห์ศักราชเป็นศักราชของศาสนาอิสลาม โดยใช้ปีที่ท่านนบีมุฮัมมัด ศาสดาของศาสนาอิสลามกระทำฮิจเราะห์ (Hijarah แปลว่า การอพยพโยกย้าย) คือ อพยพออกจากเมืองเมกกะไปยังเมืองเมดินา เป็น ฮ.ศ. 1 ซึ่งตรงกับวันที่ 16 กรกฎาคม ค.ศ. 622 หรือ พ.ศ. 1165 แต่การเทียบฮิจเราะห์ศักราชเป็นพุทธศักราชไม่สามารถใช้จำนวนคงที่เทียบได้ เนื่องจากฮิจเราะห์ศักราชยึดถือวัน เดือน ปี ทางจันทรคติอย่างเคร่งครัด จึงเดินตามปีสุริยคติไม่ทัน ทำให้คลาดเคลื่อนไม่ตรงกัน โดยทุกๆ 32 ปีครึ่งจะเพิ่มขึ้นจากปีสุริยคติไป 1 ปีตลอด การเทียบฮิจเราะห์ศักราชกับพุทธศักราชในปัจจุบัน ให้บวกฮิจเราะห์ศักราชด้วย 1122

  • พุทธศักราช (พ.ศ.) พ.ศ. ใช้กันแพร่หลายในประเทศที่ประชาชนนับถือพระพุทธศาสนา เช่น ไทย ลาว พม่าและกัมพูชา โดยไทยเริ่มใช้ พ.ศ. มาตั้งแต่สมัยอยุธยาในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชและใช้อย่างเป็นทางการในสมัยรัชกาลที่ 6 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน
  • มหาศักราช (ม.ศ.) ม.ศ. เป็นศักราชที่เริ่มใช้ในอินเดียโดยพระเจ้ากนิษกะแห่งราชวงศ์กุษาณะทรงตั้งขึ้น และต่อมาได้แพร่หลายไปยังดินแดนที่ได้รับอารยธรรมอินเดียมหาศักราชพบมากในจารึกสมัยสุโขทัยและจารึกในดินแดนไทยรุ่นแรกๆ  การเทียบมหาศักราชเป็น พ.ศ. ให้บวกด้วย 621
  • จุลศักราช (จ.ศ.) จ.ศ. เป็นศักราชของพม่าสมัยพุกามก่อนแพร่เข้ามาในดินแดนประเทศไทยา นิยมใช้ในหลักฐานทางประวัติศาสตร์ไทยสมัยต่าง ๆ ทั้งสมัยสุโขทัย อยุธยา รัตนโกสินทร์ตอนต้น และล้านนา
การเทียบจุลศักราชเป็น พ.ศ. ให้บวกด้วย 1181
- รัตนโกสินทร์ (ร.ศ.) ร.ศ. เป็นศักราชที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำริขั้นใช้ในกลางรัชสมัยของพระองค์ โดยเริ่มนับ ร.ศ. 1 ในปีที่สถาปนากรุงรัตนโกสินทร์เป็นราชธานี คือ พ.ศ. 2325
การเทียบรัตนโกสินทร์ศกเป็น พ.ศ. ให้บวกด้วย 2324
นอกจากการนับศักราชที่กล่าวมา ในบางกรณีบางเหตุการณ์ที่เราไม่ต้องนับเวลาอย่างละเอียดโดยการระบุศักราช ก็อาจนับเวลาอย่างกว้าง ๆ ได้อีก เช่น สหัสวรรษ หมายถึง เวลาในรอบ 1,000 ปีศตวรรษ หมายถึง เวลาในรอบ 100 ปี ทศวรรษ หมายถึง เวลาในรอบ 10 ปี เป็นต้น

ความสำคัญของเวลา

          เวลาเป็นแนวคิดที่เป็นนามธรรม จับต้องไม่ได้ แต่ความคิดเรื่องเวลามีความเกี่ยวข้องกับ
การดำเนินชีวิตและกิจกรรมของมนุษย์อยู่ตลอด ในสมัยโบราณ มนุษย์สามารถบอกเวลาได้จาก
การสังเกตการเปลี่ยนแปลงของปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ เช่น แสงสว่างที่มาพร้อมกับดวง
อาทิตย์และตำแหน่งของดวงอาทิตย์บนท้องฟ้า ลักษณะของดวงจันทร์ที่ปรากฏในแต่ละคืน หรือ
การที่มีฝนตกหรือฝนไม่ตก การผลิดอกออกผลของต้นไม้ เป็นต้น
มนุษย์รู้จักนับเวลามาตั้งแต่สมัยโบราณ โดยมีหลักฐานว่าใช้การขีดลงบนแผ่นดินเพื่อ
บันทึกวันเดือนที่ผ่านไป นั่นคือความคิดเรื่องเวลาเกี่ยวกับปฏิทิน เมื่อมนุษย์มีการพัฒนาด้าน
วิทยาการมากขึ้น ก็มีการสร้างนาฬิกาซึ่งเป็นเครื่องมือบอกเวลาที่แน่นอนมากขึ้น และมีวิธีการ
กำหนดจำนวนวันในปฏิทินให้เป็นรอบปีที่สอดคล้องกับปรากฏการณ์ธรรมชาติ เวลามีความสำคัญ
ต่อชีวิตมนุษย์ในปัจจุบันอย่างไรเป็นสิ่งที่เราทุกคนคงตระหนักดี เวลาเป็นสิ่งที่ช่วยให้เราสามารถจัด
ระบบชีวิตส่วนตัวและสังคมได้ และช่วยทำให้มนุษย์สามารถเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของเหตุการณ์
ต่างๆ ทั้งที่เกิดขึ้นมาแล้วในอดีต ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน และที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
เนื่องจากประวัติศาสตร์เป็นเรื่องราวของมนุษย์และเหตุการณ์ที่เกี่ยวกับมนุษย์ที่เกิดขึ้น
ในอดีต ซึ่งดำเนินไปตามลำดับกาลเวลา การที่เราจะเข้าใจเหตุการณ์ในอดีต รวมทั้งสาเหตุและ
ผลของเหตุการณ์เหล่านั้นได้ เราจึงจำเป็นต้องทราบลำดับเวลาของเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกัน
หรือเป็นเหตุเป็นผลแก่กัน ประวัติศาสตร์ของทุกชนชาติจึงต้องมีเวลาเป็นเกณฑ์อ้างอิงหรือเส้น
กำกับเวลาอยู่ตลอดเวลา หาไม่แล้วเหตุการณ์ต่างๆ ก็คงจะไม่มีความหมาย หรือหากจะยังมีความ
หมายอยู่บ้างก็คงจะเป็นความหมายที่เลือนลาง ด้วยไม่ทราบว่าอะไรเกิดขึ้นก่อนหรือหลัง ดังนั้นจึง
ไม่สามารถจะทราบอย่างแน่ชัดว่าอะไรคือสาเหตุและอะไรคือผล ซึ่งจะมีผลตามมาคือทำให้เราไม่
ทราบว่าเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์นั้นมีความหมายที่แท้จริงอย่างไร